สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไป

1.   ที่ตั้ง   องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล  ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8  บ้านโคกเพชร   ตำบลบ้านตาล    อำเภอบำเหน็จณรงค์  จังหวัดชัยภูมิ และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบำเหน็จณรงค์  ซึ่งมีระยะทางห่างจากอำเภอบำเหน็จณรงค์ ประมาณ  12  กิโลเมตร

2.   เนื้อที่   ในเขตตำบลบ้านตาลมีเนื้อที่ทั้งหมด  42  ตารางกิโลเมตร  หรือ  23,787  ไร่ โดยประมาณ

3.   ภูมิประเทศ   สภาพของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ  ตรงกลางของตำบลเป็นที่ราบสูง มีบึงขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางที่ราบลุ่มของตำบล  ไม่มีภูเขา  ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน  มีลำคลองที่ผ่านหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลได้แก่ คลองลำคันฉู  คลองไผ่งาม และลำห้วยทราย นอกจากนี้ยังมีคลองย่อยซึ่งแยกออกจากลำคลองสายหลัก

4.   อาณาเขตติดต่อ
– ทิศเหนือ          ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลตะโกทอง  อำเภอซับใหญ่
– ทิศใต้               ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลหัวทะเล
– ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม  อำเภอจัตุรัส
– ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร  และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชวน                                             อำเภอบำเหน็จณรงค์

5.   จำนวนหมู่บ้าน  จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาลเต็มทั้ง  12 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1   บ้านหัวบึง  จำนวนครัวเรือน   169   ครัวเรือน   มีประชากร   526  คน

หมู่ที่ 2   บ้านท่าศาลา  จำนวนครัวเรือน   113   ครัวเรือน   มีประชากร   380 คน

หมู่ที่ 3   บ้านกระทุ่มพระ  จำนวนครัวเรือน    74    ครัวเรือน   มีประชากร   221  คน

หมู่ที่ 4   บ้านตาล    จำนวนครัวเรือน   178   ครัวเรือน   มีประชากร   519 คน

หมู่ที่ 5   บ้านวังกะอาม  จำนวนครัวเรือน   193   ครัวเรือน   มีประชากร   704  คน

หมู่ที่ 6   บ้านหนองอีหล่อ  จำนวนครัวเรือน    96    ครัวเรือน   มีประชากร   386  คน

หมู่ที่ 7   บ้านกุดแคน    จำนวนครัวเรือน   136   ครัวเรือน   มีประชากร   390  คน

หมู่ที่ 8   บ้านโคกเพชร    จำนวนครัวเรือน    91    ครัวเรือน   มีประชากร   351  คน

หมู่ที่ 9   บ้านหนองยายบุตร  จำนวนครัวเรือน    89   ครัวเรือน    มีประชากร   266  คน

หมู่ที่ 10 บ้านหนองคร้อ  จำนวนครัวเรือน    80   ครัวเรือน    มีประชากร   273  คน

หมู่ที่ 11 บ้านหัวบึง  จำนวนครัวเรือน     93   ครัวเรือน   มีประชากร   195  คน

หมู่ที่ 12 บ้านตาลพัฒนา  จำนวนครัวเรือน    119  ครัวเรือน   มีประชากร   480  คน

                                                รวมครัวเรือน     1,431   ครัวเรือน  /  รวมประชากร  4,619 คน

ที่มา  :  ฝ่ายทะเบียนอำเภอบำเหน็จณรงค์  ข้อมูลจากวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2562

6.   ท้องถิ่นอื่นในตำบลบ้านตาล    ไม่มี

7.   ประชากร
ประชากรในตำบลบ้านตาลรวมทั้งสิ้น   4,599  คน   แยกเป็นชาย  2,252  คน  หญิง  2,347 คน  ความหนาแน่นเฉลี่ย  110 คน/ตารางเมตร  โดยแยกเป็นหมู่บ้านได้ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

หมายเหตุ

1

บ้านหัวบึง

241

262

503

2

บ้านท่าศาลา

194

214

408

3

บ้านกระทุ่มพระ

122

114

236

4

บ้านตาล

249

282

531

5

บ้านวังกะอาม

335

362

697

6

บ้านหนองอีหล่อ

189

209

398

7

บ้านกุดแคน

201

165

366

8

บ้านโคกเพชร

167

175

342

9

บ้านหนองยายบุตร

129

113

242

10

บ้านหนองคร้อ

117

114

231

11

บ้านหัวบึง

89

101

190

12

บ้านตาลพัฒนา

219

236

455

รวม

2,252

2,347

4,599

 

ที่มา  :  ฝ่ายทะเบียนอำเภอบำเหน็จณรงค์  ข้อมูล  ณ   วันที่   30   เมษายน   2552

ประชากรแยกตามช่วงอายุ

ช่วงอายุ

ชาย(คน)

หญิง(คน)

รวม(คน)

แรกเกิด – 1  ปี

27

33

60

2  ปี –  5   ปี

126

92

218

6  ปี –  11 ปี

151

140

291

12  ปี – 14  ปี

107

95

202

15  ปี – 17  ปี

95

77

172

18  ปี – 49  ปี

1,148

1,146

2,294

50  ปี – 60  ปี

288

352

640

60  ปีขึ้นไป

298

384

682

รวม

2,240

2,319

4,559

ที่มา  :  ฝ่ายทะเบียนอำเภอบำเหน็จณรงค์  ข้อมูล  ณ   วันที่   30   เมษายน   2552

สภาพเศรษฐกิจ
1.   อาชีพ
อาชีพประชากรในตำบลบ้านตาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาลมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 22,989 ไร่ ครอบครัวที่ทำการเกษตรกรรม  จำนวน  855 ครอบครัว

สภาพการผลิตพืชผลเศรษฐกิจที่สำคัญๆ แยกได้ดังนี้คือ.-

ลำดับที่

พืชเศรษฐกิจ

พื้นที่ปลูก (ไร่)

จำนวนครัวเรือนที่ปลูก

1

ข้าว

14,500

900

2

มันสำปะหลัง

3,500

857

3

พริก

3,480

855

4

อ้อย

550

35

5

ข้าวโพด

2,120

60

ที่มา  :  ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลบ้านตาล

รวมทั้งการปศุสัตว์ของตำบลบ้านตาล  ประกอบด้วย สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่  โค  กระบือ  สุกร  เป็ด  ไก่  สุนัข   แมว  นอกเหนือจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประชากรในตำบลบ้านตาลยังมีอาชีพอื่น เช่น  อาชีพค้าขาย  รับจ้าง  การใช้แรงงาน  การให้บริการในภาครัฐ และธุรกิจส่วนตัว

2.   หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล
– ปั๊มน้ำมัน(ขนาดเล็ก)              จำนวน             2        แห่ง
– โรงสี                                      จำนวน           17       แห่ง
– โรงงานอุตสาหกรรม               จำนวน           1         แห่ง
– ร้านค้า                                    จำนวน           34       แห่ง
– บ้านเช่า                                  จำนวน           4         แห่ง
– ลานค้า/ตลาดนัดชุมชน            จำนวน           1        แห่ง

สภาพทางสังคม
1.   การศึกษา
– โรงเรียนประถมศึกษา                 จำนวน           5        แห่ง
– โรงเรียนมัธยมศึกษา                   จำนวน           1        แห่ง
– ศูนย์การเรียนชุมชน                    จำนวน           1        แห่ง
– ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด   จำนวน           4        แห่ง
– ที่อ่านหนังสือพิมพ์หมู่บ้าน           จำนวน           10     แห่ง
– ศาลาประชาคม                           จำนวน           10     แห่ง
– หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน           จำนวน           6        แห่ง
– เสียงตามสายในหมู่บ้าน              จำนวน           10     แห่ง

2.   สถาบันและองค์กรทางศาสนา
– วัด                                     จำนวน           4        แห่ง
– สำนักสงฆ์                         จำนวน           3        แห่ง

3.   สาธารณสุข
– สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน         จำนวน           3        แห่ง
– อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ                  ร้อยละ            100

4.   ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
– มีสายตรวจประจำตำบล     1    สาย   กำลังตำรวจ        3               นาย
– มี อปพร.ประจำตำบล                       จำนวน           85       นาย
– มีตำรวจอาสาประจำแต่ละหมู่บ้าน          จำนวน           100     นาย

การบริการพื้นฐาน
1.   การคมนาคม
การคมนาคมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล มีถนนสายสำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 205  มีถนนลาดยางเป็นสายหลักภายในตำบล ได้แก่  สายหนองอีหล่อ-บ้านตาล , สายบ้านงิ้ว-หัวทะเล  มีถนนถอนกรีตเสริมเหล็ก  15  สาย  มีถนนลูกรังภายในหมู่บ้าน ทั้ง 12 หมู่บ้าน  และมีถนนดิน(ลำลอง) ระหว่างหมู่บ้าน

2.   การโทรคมนาคม
ในเขตตำบลบ้านตาลมีโทรศัพท์สาธารณะในหมู่บ้าน ทั้ง  12  หมู่บ้าน

3.   การสาธารณูปโภค
– การไฟฟ้า
ทุกหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล ไฟฟ้าได้เข้าถึงทุกหมู่บ้าน และจำนวนประชากรที่มีไฟฟ้าใช้ คิดเป็นร้อยละ   96
– การประปา
การให้บริการน้ำประปาหมู่บ้านมีการใช้น้ำประปาทั้ง 12 หมู่บ้าน จำแนกตามระบบน้ำ ได้แก่

  1. การประปาหมู่บ้าน ระบบน้ำผิวดิน ใช้บึงอำพันธ์เป็นแหล่งน้ำ หมู่บ้านที่ใช้ระบบน้ำประปาผิวดินแห่งนี้ได้แก่ หมู่ที่ 1,2 ,3,4,5,8,11และหมู่ที่ 12
  2. การประปาหมู่บ้าน ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) ใช้หนองน้ำหนองอีหล่อเป็นแหล่งน้ำ หมู่บ้านที่ใช้ระบบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ หมู่ที่ 6 และ หมู่ที่ 10 
  3. การประส่วนภูมิภาค ของการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอบำเหน็จณรงค์ หมู่บ้านที่ใช้ระบบน้ำประปาส่วนภูมิภาค ได้แก่ หมู่ที่ 6 , 7 และหมู่ที่ 10
  4. การประปาหมู่บ้าน ระบบน้ำบาดาล ใช้บ่อบาดาลหนองยายบุตรเป็นแหล่งน้ำ หมู่บ้านที่ใช้ระบบน้ำบาดาล ได้แก่ หมู่ที่ 9 การประปาระบบหอถังสูงที่ใช้แหล่งน้ำจากหมู่บ้านอื่น ได้แก่หมู่ที่ 7

– แหล่งน้ำธรรมชาติ
– ลำห้วย , คลอง           จำนวน           5        สาย
– หนอง , บึง              จำนวน           15       สาย
– แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
– ฝาย                       จำนวน           5        แห่ง
– บ่อน้ำตื้น                 จำนวน           1        แห่ง
– บ่อโยก                   จำนวน           3        แห่ง

ข้อมูลอื่นๆ
1.   ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
– ทรัพยากรดิน
สภาพดินส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาลจะเป็นดินร่วนปนทราย และดินเค็ม  สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มสลับกับที่ลาดสูงบางส่วน  เหมาะสำหรับทำการเกษตร ประเภทที่ต้องการน้ำน้อยเนื่องจากดินเก็บกักน้ำไม่ได้ เช่น มันสำปะหลัง  พริก  อ้อย  และข้าวโพด  สำหรับที่ราบลุ่มบางส่วนที่มีลำคลองไหลผ่านเหมาะสำหรับการทำนา
– ทรัพยากรน้ำ
ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลบ้านตาลใช้น้ำอุปโภค-บริโภค จะอาศัยน้ำฝน น้ำประปาหมู่บ้าน และแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ บึงอำพันธ์ ,บึงตาล  และลำห้วย คือ ลำห้วยคลองไผ่งาม ลำห้วยลำคันฉู และลำห้วยทราย  ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ตลอดช่วงฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี
– ทรัพยากรเหมืองแร่
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล มีแหล่งทรัพยากรเหมืองแร่ที่สำคัญในระดับประเทศ คือการทำเหมืองแร่โปรแตชของอาเซียน โดยมีที่ตั้งแหล่งทำเหมืองแร่ฯ คือ บ้านโคกเพชร หมู่ที่ 8 เป็นแร่ชนิดคาร์นัลไลท์ที่มีคุณภาพสูง การให้เกลือโปรแตชสูง ซึ่งอยู่ในความลึกจากพื้นดิน 150 เมตร  มีความหนาแน่นของสินแร่ โดยเฉลี่ย 23.9 เมตร มีปริมาณแร่คาร์นัลไลท์ไม่น้อยกว่า 570 ล้านตัน ภายในบริเวณของโครงการฯ 100 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเมื่อโครงการฯสำเร็จเรียบร้อยจะสามารถผลิตแร่ โปรแตชได้เฉลี่ย 1.1 ล้านตันต่อปี  และสามารถผลิตเกลือโปรแตชได้ไม่ต่ำกว่า  30  ปี
ในปัจจุบันโครงการฯ ได้ทำการขุดไปแล้ว 1 หลุม ความลึกโดยประมาณ 180 เมตร ในขั้นต้นได้แร่โปรแตชโดยประมาณ 120,000 ตัน  ในขั้นต่อไปจะขุดอีก  1  ช่องทาง ซึ่งห่างจากช่องเดิมประมาณ 1.5 กิโลเมตร ขุดลึกประมาณ 180 เมตร ใช้เวลา ประมาณ 2 ปี เพื่อร่วมกับช่องทางที่ 1 ทำให้การขุดแร่ได้เร็วและมากขึ้น ในการขุดหลุมใหม่นี้อยู่ในขั้นรอเงินกู้จากต่างประเทศ ประโยชน์ที่ได้จากการขุดเหมืองแร่โปรแตช จะผลิตปุ๋ยโปรแตชประมาณ 1.1 ล้านตันต่อปี และจะมีผลพลอยได้ตามมา เช่น เกลือแมกนิเซียมคลอไรด์ และโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ยันก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ ได้ถึง 24  ผลิตภัณฑ์ อันเป็นผลผลิตต่อเนื่อง ได้ โดยจะต้องมีโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องมารองรับ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง และผลผลิตที่ได้จะเป็นสินค้าส่งออก และทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศได้ ในส่วนของตำบลบ้านตาลที่จะได้รับผลประโยชน์ คือ ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากค่าภาคหลวงแร่ จากการผลิตเกลือ และแร่โปรแตช ผลประโยชน์อีกทางที่จะเกิดขึ้น คือ ในอนาคตอาจจะมีโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องมาตั้ง อันก่อให้เกิดการจ้างงานและมวลรวมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

2. มวลชนจัดตั้ง
– ลูกเสือชาวบ้าน          จำนวน            2        รุ่น   100  คน

2.   ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
การรวมกลุ่มของประชาชน
อำนวยกลุ่มทุกประเภท                                          5        กลุ่ม
โดยแยกประเภทกลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มอาชีพ                    
  2. กลุ่มออมทรัพย์
  3. กลุ่มผู้ใช้น้ำ
  4. กลุ่ม อสม
  5. กลุ่มประชาคม

จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตำบล)
– ด้านการเกษตร สามารถที่จะผลิตพืชผลทางการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
ในอนาคต ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะที่จะทำการเกษตรแบบยั่งยืนได้ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง
ข้าวโพด พริก
– ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ สามารถที่จะพัฒนาแหล่งน้ำ คุณภาพน้ำ เพื่อใช้การอุปโภค – บริโภค และใช้เพื่อการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง

– ด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากมีโครงการเหมืองแร่โปรแตชของอาเซียน ตั้งอยู่ในเขต อบต. คือบ้านโคกเพชร หมู่ที่ 8 ซึ่งจะสามารถส่งเสริมรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และบรรเทาปัญหาการว่างงาน และการอพยพถิ่นฐานเข้าสู่เมืองหลวง และต่างประเทศ